8 เงื่อนไข ก่อนเซ็นสัญญาซื้อขายบ้าน
ปัจจุบันการใช้สัญญาได้เข้ามามีบทบาทในการประกอบธุรกิจและเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคม
อาทิ สัญญารับประกันสินค้า สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาเช่าซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า สัญญาเช่าซื้อรถยนต
์และรถจักรยานยนต์ สัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
สัญญาเหล่านี้เป็นเงื่อนไขที่ผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคยินยอมกระทำร่วมกันแต่เพราะสัญญานั้น
ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ร่างขึ้นมา และเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในสัญญาแต่ฝ่ายเดียว
ซึ่งถ้าพิจารณารายละเอียดในสัญญาจะพบว่าข้อความในสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและเอาเปรียบผู้บริโภคเสมอ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
ที่ใช้ข้อความในสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและไม่ปฏิบัติตามสัญญาเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง สคบ. ใคร่ขอแนะนำหลักเกณฑ์ในการทำสัญญาดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของสัญญาควรเขียนระบุให้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาอะไร
2. ชื่อที่อยู่คู่สัญญามีกี่ฝ่ายกี่คน ใครบ้าง อยู่ที่ไหน อย่างไร
3. ความสามารถของคู่สัญญาต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถทำสัญญาได้ตามกฎหมาย
ถ้าเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อน ถ้ามีคู่สมรสจะต้องให้ความยินยอมด้วย
4. แบบของสัญญาต้องถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด เช่น
สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมอาคารจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานสัญญา
จะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบเป็นสำคัญ
5. ค่าเสียหายเมื่อมีการปฏิบัติผิดสัญญา ก็ควรระบุกำหนดไว้ด้วย
6. ค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ควรระบุไว้ให้ชัดเจนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้รับผิดชอบ
7. ลายมือชื่อคู่สัญญา ควรลงชื่อต่อหน้ากันทั้งสองฝ่าย ถ้าเขียนหนังสือไม่เป็นก็ใช้พิมพ์ลายนิ้วมือ โดยลงชื่อพยาน 2 คนรับรอง
8.พยานสัญญาควรจะมีพยานรู้เห็นในการทำสัญญาลงชื่อเป็นพยานไว้ด้วยในขณะทำสัญญา
หากมีปัญหาจะได้นำพยานนั้นมายืนยันได้
ผู้บริโภคควรศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนลงนามในสัญญา
หากมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจในความชัดเจนของสัญญาก็ควรสอบถามหรือปรึกษาผู้ที่มีความรู้ให้แน่ชัดเสียก่อน
ที่มา : หนังสือบ้านพร้อมอยู่